ไฟกระพริบโซล่าเซลล์  ไฟจราจร  ป้ายเขตโรงเรียน  ป้ายจราจร  รับผลิตเสาเหล็ก และตอม่อ ราคาถูก รับติดตั้งทั่วประเทศ

หน้าหลัก

บทความ ถาม - ตอบ ดาวน์โหลด เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา

ไฟกระพริบโซล่าเซลล์ LED

ไฟกระพริบ 130 หลอด (5W)
ไฟกระพริบ 165 หลอด (5W)
ไฟกระพริบ 165 หลอด (10W)
ไฟกระพริบ 170 หลอด (5W)
ไฟกระพริบ 170 หลอด (10W)
ไฟกระพริบ 230 หลอด (10W)
ไฟกระพริบ 230 หลอด (20W)
ไฟกระพริบแบบ 2 โคม (20W)
ไฟไซเรน โซล่าเซลล์

ป้ายเตือนโซล่าเซลล์

ป้ายเขตโรงเรียน
ป้ายเขตทางข้าม
ป้ายเขตโรงงาน
ป้ายจำกัดความเร็ว
ป้ายเตือนทางโค้ง
ป้ายจราจรแบบอื่นๆ
อุปกรณ์จราจรอื่นๆ

เสาเหล็ก & ตอม่อ

เสาเหล็ก
ตอม่อ

 

NS-TRAFFIC ศูนย์รวม ไฟกระพริบโซล่าเซลล์ ไฟจราจร ป้ายจราจร ผลิตในประเทศไทย
 
  02-9657588  ,  099-3202012  ,  081-8465426    เปิดทำการวัน จ.-ศ.8.30-17.30

@nsthai       sales@nsthai.com       nsthai


เกร็ดความรู้ในการเลือกซื้อไฟกระพริบโซล่าเซลล์

              ปัจจุบันมีผู้ประกอบการมากมายต่างช่วงชิงตลาดทางด้านไฟกระพริบจราจร ทั้งการแข่งขันด้านราคา  คุณภาพ  ตลอดจนวิธีการขาย ฯลฯ  ในที่นี้เราจะมาพูดถึงคุณภาพของสินค้าและวิธีในการเลือกซื้อเพียงอย่างเดียว  ก่อนอื่นเลยเราต้องทราบก่อนว่าไฟกระพริบ LED พลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีส่วนประกอบหลักๆ คือ
            1. แผงโซล่าเซลล์ Solar Cell Module ซึ่งมีทั้งขนาด 5วัตต์ , 10วัตต์ หรือขนาดอื่นๆ
            2. วงจรควบคุมการทำงาน Flashing Circuit
            3. แผงจานหลอดไฟ LED
            4. ตู้ Body ชนิด ABS หรือ Poly Carbonate
            5. แบตเตอรี่
                ควรทราบว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นสำคัญทั้งนั้น  และจุดนี้เองเป็นที่มาของราคาที่แตกต่างกัน  สินค้าที่คุณภาพดีมักมีราคาแพง (แต่ก็ไม่เสมอไป) และสินค้าไม่ดีมักขายถูกไว้ก่อนเพื่อให้ขายได้  แล้วเราจะต้องพิจารณาอย่างไรล่ะ?
            1. แผงโซล่าเซลล์  อันนี้ต้องบอกว่าดูค่อนข้างยากสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้คลุกคลีหรือแม้กระทั่งอยู่ในวงการค้าขายโซล่าเซลล์ก็ดูด้วยตาเปล่าไม่ออกหรอกครับ  เอาเป็นว่าแนะนำให้เลือกยี่ห้อที่ใช้แผงชนิด Mono Crystalline ไว้ก่อนจะปลอดภัยกว่า
            2. วงจร  อันนี้ก็มีส่วนในการทำงานเช่นกันว่าไฟกระพริบจะทำงานได้เสถียรหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับยี่ห้อของ chip ที่ใช้  ถ้าใช้ Chip ที่มีชื่อไว้ใจได้หน่อยก็ดีไป เช่น Chip ของค่าย Texus ยังรวมไปถึงอุปกรณ์บน Chip เช่น ตัว VR ปรับค่าความถี่และการเคลือบแผ่นวงจร  ผมเองยังเคยพบ Chip ที่ใช้วงจรแบบไม่เคลือบด้วยซ้ำ พูดง่ายๆเ ลยว่าใช้ไปไม่นานทองแดงคงจะร่อนหมด แต่ผู้ผลิตคงไม่สนใจอะไร ขายได้ก็จบ
            3. หลอด LED   อันนี้เป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้สำหรับการทำไฟกระพริบ  ในปัจจุบัน LED พลังงานแสงอาทิตย์นั้นใช้กันตั้งแต่ราคาถูกๆ เริ่มต้นที่เม็ดละ 50 สตางค์ ไปจนถึงเม็ดละ 5 บาทเลยทีเดียว  ราคามันต่างกันซึ่งแน่นอนว่าคุณภาพต้องแตกต่างกันมากอยู่แล้ว  เอาเป็นว่าสำหรับการเลือกใช้ LED ที่ดีนั้นต้องมีลักษณะ  ดังนี้
     - ต้องกินไฟน้อย  ถ้า LED นั้นกินไฟมากก็แน่นอนว่ามันจะมีปัญหาในการทำงานเรื่องการสำรองไฟในวันที่ฝนตกฟ้าครึ้ม 
     - ให้ความสว่างสูง  แนะนำให้ว่าไม่ควรต่ำกว่า 7,000 mcd ต่อหลอด  ไม่เช่นนั้นละก็มองไม่เห็นที่ในระยะ 1,000 เมตรแน่ๆ แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรบนท้องถนน?
     - มีอายุการใช้งานที่นานและทน 
     - มุมกระจายแสงของ LED  นี่ก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องคิด คือมุมกระจายแสงไม่ควรน้อยกว่า 25 องศา ไม่งั้นรถที่วิ่งมาในระยะต่ำกว่า 50 เมตรจะไม่เห็นแสงไฟชัดเจน
     สาเหตุเหล่านี้เป็นเหตุผลหนึ่งว่าทำไมหลอด LED ที่มีแค่ 150 -160 หลอดนั้นอาจสว่างกว่าหลอดที่มี 250 -280หลอดได้  มันไม่แปลกเลยถ้า LED 150 หลอดเป็นหลอดอย่างดี 5 ถูกออกแบบด้วยวงจรที่ดี นั้นก็ย่อมดีกว่าอย่างแน่นอน
             4. Body   อันนี้ต้องดูที่ความแข็งแรงสักนิด Body ในที่นี้คือตัวโคมเปล่าๆ เลยนะซึ่งยังไม่ใส่วงจรหรืออะไรเข้าไปเลย เมื่อจับทุ่มกับพื้นต้องไม่แตก ต้องเป็นวัสดุที่ดีมากพอสมควรถึงจะอยู่ตากแดด  ตากลม ตากฝนและทนต่อสภาวะอากาศได้
             5. แบตเตอรี่  ไม่อยากวิจารณ์ถึงยี่ห้อครับเดี๋ยวจะโดนฟ้อง  เอาเป็นว่าสมมุติที่หนึ่งใช้แบตยี่ห้อหนึ่งส่วนอีกที่หนึ่งใช้อีกยี่ห้อ  ลองเช็คดูราคาแบตฯ ในตลาดจะเห็นว่าราคามันต่างกันอย่างไม่น่าเชื่อทั้งๆที่เป็นแบตขนาดเท่ากัน เช่น ลองสอบถามราคาแบตฯ ยี่ห้อ Rita เทียบกับ LEOCH หรือ RR กับ SPA อะไรอย่างนี้ น้ำหนักก็ต่างกัน ปริมาณตะกั่วข้างในก็ต่างกัน แน่นอนว่าการเก็บไฟก็ย่อมมีความต่างกัน

 

                                                                                   ทีมงาน NS_TRAFFIC